นิติกรณ์ (หนังสือมอบอำนาจ)
ท่านโปรดทำการจองเวลาเพื่อทำนิติกรณ์ทุกครั้ง ก่อนที่จะเดินทางมาที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
โปรดอ่านรายละเอียดข้อมูลเตรียมการเพื่อขอรับบริการทำนิติกรณ์ข้างล่างนี้ ก่อนทำการจองเวลา
ท่านสามารถจองเวลาทำนิติกรณ์ หรือแก้ไข/ยกเลิกเวลาที่ได้จองไว้โดย คลิกที่นี่
หากท่านมีความประสงค์ที่จะทำหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้ญาติที่อยู่ประเทศไทยนำไปใช้ทำธุรกรรมต่าง ๆ แทนตัวท่าน โดยผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 20 ปี ขึ้นไป) ขอความกรุณาดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
*กรณีขอทำหนังสือมอบอำนาจ หนังสือยินยอม และการรับรองลายมือชื่อ ท่านต้องมาดำเนินการด้วยตนเอง เพื่อลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่สามารถส่งเอกสารมาทำนิติกรณ์ทางไปรษณีย์ได้ และเปิดทำการทุกวันอังคารและวันพุธเท่านั้น ระหว่างเวลา 10.00 – 14.00 น. โดยต้องทำการนัดหมายเวลาตามด้านบนก่อนทุกครั้ง*
เอกสารประกอบ*กรุณาถ่ายสำเนาเอกสารประกอบต่อไปนี้มาอย่างละ 2 ชุด ต่อการขอหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ (หากท่านต้องการทำมากกว่า 1 ฉบับจะต้องเพิ่มสำเนาเอกสารตามจำนวนหนังสือมอบอำนาจที่ท่านต้องการทำ)
เอกสารของผู้มอบอำนาจ
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทยที่ยังมีอายุอยู่ (หากหมดอายุจะต้องนัดหมายมาทำบัตรประชาชนไทยใหม่) (2 ฉบับ/ หนังสือมอบอำนาจ 1 ชุด)
2. แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ (1 ฉบับ/ หนังสือมอบอำนาจ 1 ชุด) *การมอบอำนาจเรื่องที่ดิน กรุณาสอบถามกรมที่ดินเกี่ยวกับข้อความที่ต้องเขียนลงในหนังสือมอบอำนาจนี้ เพื่อความถูกต้องและครบถ้วนตามที่ปลายทางกำหนด
3. สำเนาเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการจัดการนั้น ๆ มาด้วย (2 ฉบับ/ หนังสือมอบอำนาจ 1 ชุด) เช่น
3.1 ธุรกรรมเกี่ยวกับบุตรในปกครอง จะต้องมีเอกสารดังนี้
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล สำเนาสูติบัตรของบุตร สำเนาทะเบียนบ้านไทยที่มีชื่อบุตรสำเนาทะเบียนหย่า ใบสำคัญการหย่าพร้อมบันทึก สำเนาเอกสารการมีอำนาจปกครองบุตร ( ปค. 14) เป็นต้น
3.2 ธุรกรรมเกี่ยวกับด้านที่ดิน จะต้องมีเอกสารดังนี้
- สำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาเอกสารสิทธิ์ นส.3ก เป็นต้น
4. ใบคำร้องขอทำนิติกรณ์ กรุณากรอกข้อความให้ครบถ้วนพร้อมลงชื่อ (1 ฉบับ) แบบฟอร์มคำร้อง
เอกสารของผู้รับมอบอำนาจ
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทยที่ยังมีอายุอยู่ (2 ฉบับ/ หนังสือมอบอำนาจ 1 ชุด)
ค่าธรรมเนียม
175 โครน่าสวีเดน ต่อหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ (โปรดชำระค่าธรรมเนียมด้วย Swish และรับชำระที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เท่านั้น)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากฝ่ายนิติกรณ์ได้ที่เบอร์ 085 880 4258 (วันจันทร์-วันศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ เวลา 14.00-16.00น.) หรือส่งข้อความทางอีเมล์ legalization@thaiembassy.se
นิติกรณ์ (หนังสือให้ความยินยอมและหนังสือมอบอำนาจในการทำหนังสือเดินทาง)
ท่านโปรดทำการจองเวลาเพื่อทำนิติกรณ์ทุกครั้ง ก่อนที่จะเดินทางมาที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
โปรดอ่านรายละเอียดข้อมูลเตรียมการเพื่อขอรับบริการทำนิติกรณ์ข้างล่างนี้ ก่อนทำการจองเวลา
*กรณีขอทำหนังสือมอบอำนาจ หนังสือยินยอม และการรับรองลายมือชื่อ ท่านต้องมาดำเนินการด้วยตนเอง เพื่อลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่สามารถส่งเอกสารมาทำนิติกรณ์ทางไปรษณีย์ได้ และเปิดทำการทุกวันอังคารและวันพุธเท่านั้น ระหว่างเวลา 10.00 – 14.00 น. โดยต้องทำการนัดหมายเวลาก่อนทุกครั้ง*
ท่านสามารถจองเวลาทำนิติกรณ์ หรือแก้ไข/ยกเลิกเวลาที่ได้จองไว้โดย คลิกที่นี่
1.หนังสือให้ความยินยอมในบุตรทำหนังสือเดินทาง
หนังสือให้ความยินยอมเป็นเอกสารที่บิดาหรือมารดา ลงนามยินยอมให้บุตรที่เป็นผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปี) ทำหนังสือเดินทางเพื่อเดินทางไปต่างประเทศ ใช้ในกรณีที่บิดาหรือมารดาไม่สามารถเดินทางไปลงนามในคำร้องขอทำหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศได้ด้วยตนเอง
เอกสารประกอบ *กรุณาถ่ายสำเนาเอกสารประกอบต่อไปนี้มาอย่างละ 2 ชุด ต่อการขอหนังสือยินยอม 1 ฉบับ และท่านต้องจัดเตรียมเอกสารทั้งของบิดาและมารดา*
สำหรับบิดา/มารดาที่มีสัญชาติไทย
- คำร้องขอนิติกรณ์ (Application for legalization) คลิกที่นี่ (กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน)
- บัตรประจำตัวประชาชนไทยที่มีอายุอยู่ของบิดา/มารดา ฉบับจริง และสำเนา
- สำเนาทะเบียนบ้านไทยของมารดาของบิดา/มารดา
- สำเนาสูติบัตรไทยของบุตร
- สำเนาทะเบียนบ้านไทยของบุตร
- สำเนาบัตรประชาชนไทยที่ยังมีอายุอยู่ของบุตร (หากมี)
- สำเนาหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันที่หมดอายุแล้วของบุตร (หากมี)
- สำเนาเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ใบเปลี่ยนนามสกุล ทะเบียนสมรส ใบหย่า ใบสำคัญการหย่าพร้อมบันทึก หนังสือแสดงอำนาจในการปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค.14 ) ใบมรณะบัตร หลักฐานการรับบุตรบุตรธรรม ฯลฯ
สำหรับบิดา/มารดาที่ไม่มีสัญชาติไทย
- คำร้องขอนิติกรณ์ (Application for legalization) คลิกที่นี่ (กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน)
- หนังสือเดินทางที่มีอายุอยู่ของบิดา/มารดาที่ไม่มีสัญชาติไทย ฉบับจริง และสำเนา
- สำเนาสูติบัตรไทยของบุตร
- สำเนาทะเบียนบ้านไทยของบุตร
- สำเนาบัตรประชาชนไทยที่มีอายุอยู่ของบุตร (หากมี)
- สำเนาหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันที่หมดอายุแล้วของบุตร (หากมี)
- สำเนาเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ใบเปลี่ยนนามสกุล ทะเบียนสมรส ใบหย่า ใบสำคัญการหย่าพร้อมบันทึก หนังสือแสดงอำนาจในการปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค.14 ) ใบมรณะบัตร หลักฐานการรับบุตรบุตรธรรม ฯลฯ
2.หนังสือมอบอำนาจให้บุตรทำหนังสือเดินทาง
หนังสือมอบอำนาจในการทำหนังสือเดินทางจะต้องจัดทำเพิ่มเติมนอกเหนือจากหนังสือให้ความยินยอมข้างต้น โดยเฉพาะในกรณีที่บุตรที่เป็นผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 15 ปี) และทั้งบิดาและมารดาหรือผู้มีอำนาจปกครองบุตรไม่สามารถพาไปยื่นคำร้องด้วยตนเอง โดยต้องมอบอำนาจให้บุคคลอื่น (ซึ่งต้องมีอายุมากกว่า 20 ปี) พาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทาง
เอกสารประกอบ *กรุณาถ่ายสำเนาเอกสารประกอบต่อไปนี้มาอย่างละ 2 ชุด ต่อการขอหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ และท่านต้องจัดเตรียมเอกสารทั้งของบิดาและมารดา*
เอกสารผู้มอบอำนาจ
สำหรับบิดา/มารดาที่มีสัญชาติไทย
- คำร้องขอนิติกรณ์ (Application for legalization) คลิกที่นี่ (กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน)
- บัตรประจำตัวประชาชนไทยที่มีอายุอยู่ของบิดา/มารดา ฉบับจริง และสำเนา
- สำเนาทะเบียนบ้านไทยของมารดาของบิดา/มารดา
- สำเนาสูติบัตรไทยของบุตร
- สำเนาทะเบียนบ้านไทยของบุตร
- สำเนาบัตรประชาชนไทยที่ยังมีอายุอยู่ของบุตร (หากมี)
- สำเนาหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันที่หมดอายุแล้วของบุตร (หากมี)
- สำเนาเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ใบเปลี่ยนนามสกุล ทะเบียนสมรส ใบหย่า ใบสำคัญการหย่าพร้อมบันทึก หนังสือแสดงอำนาจในการปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค.14 ) ใบมรณะบัตร หลักฐานการรับบุตรบุตรธรรม ฯลฯ
สำหรับบิดา/มารดาที่ไม่มีสัญชาติไทย
- คำร้องขอนิติกรณ์ (Application for legalization) คลิกที่นี่ (กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน)
- หนังสือเดินทางที่มีอายุอยู่ของบิดา/มารดาที่ไม่มีสัญชาติไทย ฉบับจริง และสำเนา
- สำเนาสูติบัตรไทยของบุตร
- สำเนาทะเบียนบ้านไทยของบุตร
- สำเนาบัตรประชาชนไทยที่มีอายุอยู่ของบุตร (หากมี)
- สำเนาหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันที่หมดอายุแล้วของบุตร (หากมี)
- สำเนาเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ใบเปลี่ยนนามสกุล ทะเบียนสมรส ใบหย่า ใบสำคัญการหย่าพร้อมบันทึก หนังสือแสดงอำนาจในการปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค.14 ) ใบมรณะบัตร หลักฐานการรับบุตรบุตรธรรม ฯลฯ
เอกสารผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประชาชนไทยที่มีอายุอยู่ (ต้องเป็นบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปี)
ค่าธรรมเนียม
175 โครน่าสวีเดน ต่อหนังสือให้ความยินยอม 1 ฉบับ (โปรดชำระค่าธรรมเนียมด้วย Swish และรับชำระที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เท่านั้น)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากฝ่ายนิติกรณ์ได้ที่เบอร์ 085 880 4258 (วันจันทร์-วันศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ เวลา 14.00-16.00น.) หรือส่งข้อความทางอีเมล์ legalization@thaiembassy.se
นิติกรณ์ (การรับรองเอกสาร)
ท่านโปรดทำการจองเวลาเพื่อทำนิติกรณ์ทุกครั้ง ก่อนที่จะเดินทางมาที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
โปรดอ่านรายละเอียดข้อมูลเตรียมการเพื่อขอรับบริการทำนิติกรณ์ข้างล่างนี้ ก่อนทำการจองเวลา
ท่านสามารถจองเวลาทำนิติกรณ์ หรือแก้ไข/ยกเลิกเวลาที่ได้จองไว้โดย คลิกที่นี่
การรับรองเอกสารท้องถิ่นเพื่อยื่นต่อหน่วยงานในประเทศไทย
หากคุณต้องการใช้เอกสารท้องถิ่นหรือเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานในสวีเดนหรือลัตเวียในการทำธุรกรรมในประเทศไทย เอกสารเหล่านี้ต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสวีเดนหรือลัตเวียก่อนที่จะสามารถนำไปใช้กับหน่วยงานของไทยได้ ขั้นตอนดังต่อไปนี้:
1. การแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ:
หากเอกสารต้นฉบับเป็นภาษาท้องถิ่น (สวีเดนหรือลัตเวีย) เอกสารต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษก่อน คุณสามารถตรวจสอบรายชื่อสำนักแปลที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศสวีเดน (UD) ได้ที่ Kammarkollegist (หากเอกสารต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแปลเพิ่ม)
2. การรับรองเอกสารโดยกระทรวงการต่างประเทศ:*
นำเอกสารต้นฉบับที่เป็นภาษาท้องถิ่น (สวีเดนหรือลัตเวีย) และเอกสารฉบับแปลภาษาอังกฤษไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศของสวีเดน (Utrikesdepartementet) หรือกระทรวงการต่างประเทศของลัตเวีย (สำหรับคนไทยในลัตเวีย) (เอกสารต้องได้รับการรับรองทั้งเอกสารต้นฉบับภาษาท้องถิ่นและฉบับแปล)
*หมายเหตุ: เอกสารต้นฉบับที่ออกโดยหน่วยงานราชการซึ่งมีลายเซ็นและตราประทับอย่างเป็นทางการ เช่น "Personbevis" จากสำนักงานภาษีสวีเดน (Skatteverket) หรือ "Domslut" จากศาลแขวง สามารถนำไปให้กระทรวงการต่างประเทศของสวีเดนรับรองได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านการรับรองจาก Notary Public ก่อน อย่างไรก็ตาม เอกสารที่ออกโดยบุคคลทั่วไป จากบริษัทเอกชน หรือสำเนาเอกสารที่ไม่มีลายเซ็นต้นฉบับ จำเป็นต้องได้รับการรับรองจาก Notary Public ก่อนที่จะสามารถนำไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศของสวีเดน
3. การรับรองเอกสารที่สถานเอกอัครราชทูตไทย:
หลังจากที่เอกสารได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศของสวีเดนหรือของลัตเวียแล้ว สามารถนำเอกสารมายังสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงสตอกโฮล์ม เพื่อรับรองเอกสารให้ท่านในลำดับต่อไป
การรับรองเอกสารที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม
ท่านสามารถยื่นเอกสารได้ด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยที่ท่านจะต้องจองเวลาก่อนมาเท่านั้นคลิกเพื่อจองเวลาที่นี่ โดยท่านสามารถรอรับเอกสารกลับไปได้ภายในวันเดียวกัน หรือ ส่งเอกสารมาทางไปรษณีย์ โดยใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดส่งไปรษณีย์ของ PostNord
เอกสารที่ต้องใช้
- คำร้องขอทำนิติกรณ์ ที่กรอกข้อความครบถ้วนพร้อมลงชื่อ แบบฟอร์มคำร้อง
- เอกสารต้นฉบับที่เป็นภาษาท้องถิ่น (สวีเดนหรือลัตเวีย) และ ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยเอกสารดังกล่าวต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศของสวีเดนเรียบร้อยแล้ว (สำหรับเอกสารที่ออกจากหน่วยงานของลัตเวียให้ไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศในประเทศลัตเวีย)
- สำเนาเอกสารทุกหน้าของเอกสารในข้อที่ 2
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย หรือ สำเนาของหนังสือเดินทางไทยที่ยังมีอายุอยู่
- กรณีส่งเอกสารมาทางไปรษณีย์ ให้แนบซองเปล่าสำหรับการจัดส่งเอกสารกลับไปให้ท่าน (ขนาด C4) และ ป้ายฉลากการส่งแบบลงทะเบียนจาก PostNord (หากมาดำเนินการรับรองเอกสารด้วยตนเองที่สถานทูตฯ ไม่ต้องจัดเตรียมมา)
วิธีการซื้อป้ายฉลากการส่งแบบลงทะเบียนจาก PostNord (REKOMENDERAD BREV, INTERNETBETALD)
- กรุณาเข้าไปที่ https://www.postnord.se/
- กด Köp frakt online
- เลือก REK
- เลือก 250 gram
- กรอกที่อยู่ของสถานทูตฯ ในช่องผู้ส่ง (Sender/ Avsändare)
Royal Thai Embassy (Legalization)
BOX 26220
100 40 STOCKHOLM
- กรอกชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของท่านที่สวีเดนหรือลัตเวีย ในช่องผู้รับ (Recipient/ Mottagare)
*ในช่องอีเมล กรุณากรอก Email address ของท่านทั้งในช่องผู้ส่งและผู้รับ
- พิมพ์ป้ายฉลากการส่งแบบลงทะเบียนออกมาแล้วแปะบนซองเปล่า และส่งมาพร้อมกับเอกสารของท่าน
หมายเหตุ : การซื้อฉลากแบบลงทะเบียน REK มาล่วงหน้า ต้องเข้าไปซื้อบนเว็บไซต์ของกรมไปรษณีย์สวีเดนเท่านั้น (ไม่สามารถไปซื้อได้จากตัวแทน Post ombord ต่างๆ ได้ และบนหน้าซองส่งกลับต้องระบุ เป็นแบบ INTERNETBETALD เท่านั้น (EJ KONTANTBETALD)
ค่าธรรมเนียม
ฉบับละ 175 โครน่าสวีเดน/ ตราประทับ (กรณีส่งเอกสารมารับรองทางไปรษณีย์ กรุณาใส่หมายเลขโทรศัพท์และอีเมล์ของท่านในแบบฟอร์มคำร้องขอทำนิติกรณ์ และเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารครบเรียบร้อยแล้ว จะติดต่อท่านเพื่อชำระค่าธรรมเนียมด้วยวิธี Swish)
สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่นอกประเทศสวีเดนหรือจัดส่งเอกสารมาจากประเทศลัตเวีย กรุณาชำระค่าธรรมเนียมเป็นเงินสด (สกุลเงินโครนสวีเดน SEK เท่านั้น) โดยให้จัดส่งมาพร้อมกับเอกสารที่ต้องการรับรองด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 085 880 4258 (วันจันทร์-วันศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ เวลา 14.00-16.00 น.) หรือส่งข้อความทางอีเมล์ legalization@thaiembassy.se